นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยหลังการประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับวิกฤติภัยแล้งร่วมกับกรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา ผู้ประกอบการในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดคอมเพล็กซ์ ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมอับบลิวเอชเอ นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย และนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล พื้นที่จังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทราว่า  ที่ประชุม ได้มีการรายงานผลการดำเนินการที่ก่อนหน้านี้ที่ประชุมได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการนิคมฯให้ช่วยลดการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมระหว่างเดือนม.ค.-ก.พ.ที่ผ่านมา ให้ลดลงขั้นต่ำ 10% ต่อเดือนจากการช้ำงานปกติ หรือให้สามารถลดลงให้ได้  ประมาณ 7,711,200 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน 


        “ จากความร่วมมือดังกล่าว พบว่า ระหว่างกลางเดือนม.ค.ถึงสิ้นเดือนก.พ.ที่ผ่านมา การใช้น้ำในนิคมอุตสาหกรรม ในพื้นที่จังหวัดระยอง มีปริมาณการใช้ลดลงได้มากถึง 14 % หรือสามารถลดลงได้  7,394,175 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ผ่านแผนงานต่างๆ อาทิ การใช้ระบบ 3 Rs(Reduce : ลดการใช้ Reuse : นำกลับมาใช้ซ้ำRecycle : นำกลับมาใช้ใหม่) และขอความร่วมมือกับโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม ปิดซ่อมบำรุงประจำปี ตามกำหนดการปกติ  ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ”


                   ล่าสุด กนอ.ได้เตรียมมาตรการที่จะรับมือกับภัยแล้งในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดคอมเพล็กซ์ จังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรีอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย ขอความร่วมมือผู้ประกอบการลดการใช้น้ำลง 10% ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วและได้ผลเกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้ คือทำได้ 14% การหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม โดยการซื้อน้ำจากแหล่งน้ำอื่นๆ นำเข้ามาทางเรือ/ทางรถ และส่งต่อเข้าท่อส่งน้ำเดิมที่ กนอ.มีอยู่ โดยมีการแบ่งแยกประเภทของอุตสาหกรรมในการรับน้ำตามเขตพื้นที่แยกตามกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม


                 ขณะเดียวกัน กนอ.ได้มีมาตรการเสริมเร่งด่วนที่จะขอความร่วมมือผู้ประกอบการโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม ในการดำเนินการนำน้ำจากคลองชากหมาก ซึ่งเป็นคลองระบายน้ำฝนและน้ำทิ้งจากโรงงานในพื้นที่ มาผ่านการบำบัดโดยการรีไซเคิลด้วยระบบ RO (Reverse Osmosis : ระบบบำบัดน้ำเสีย สารตกค้าง และเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ) โดยผู้ประกอบการในนิคมฯได้ ร่วมกันรับผิดชอบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในส่วนของการดำเนินการ โดยเบื้องต้นสามารถผลิตน้ำได้ 14,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะจ่ายค่าน้ำเพิ่มในส่วนนี้หน่วยละ 2.76 บาทต่อลูกบาศก์เมตร แต่หากมีผู้ประกอบการรายใดที่ไม่เข้าร่วมกับโครงการฯ แต่มีความประสงค์จะใช้น้ำจากมาตรการนี้สามารถขอรับน้ำได้ในราคาต้นทุน อยู่ที่ 72 บาทต่อลูกบาศก์เมตรได้เช่นกัน

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top