องค์กรภาครัฐ ภาคประชาชน ร่วมกิจกรรมเข้าค่ายชุมชนสัมพันธ์ เพื่อระดมความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนดสู่แหล่งน้ำที่มีศักยภาพในพื้นที่ ลดปัญหาน้ำต้นทุนขาดแคลน สร้างมูลค่าภาคเกษตร สร้างรายได้เศรษฐกิจชุมชน สร้างแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฟื้นฟูระบบนิเวศภาคตะวันออก

   
นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์  รองอธิบดีฝ่ายวิชาการกรมชลประทาน เปิดเผยว่า  เมื่อเร็วๆนี้ ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานรัฐ  และ ชุมชน  อาทิ หน่วยราชการในพื้นที่ องค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม องค์การพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา นักวิชาการอิสระ  ผู้จัดทำรายงานและประชาชนทั่วไป จัด “กิจกรรมเข้าค่ายชุมชนสัมพันธ์”  เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จ.จันทบุรี ให้เกิดประโยชน์สุงสุด ในการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการกักเก็บน้ำเพื่อสำรองรองน้ำไว้ใช้ ในช่วงฤดูแล้ง และเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของประชาชนในพื้นที่ ทั้งด้านอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร และการป้องกันอุทุกภัย รวมทั้งแนวทางการดูแลและฟื้นฟูผืนป่า สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อให้ระบบนิเวศกลับมาสมบูรณ์อีกครั้งครอบคลุมทั้งพื้นที่ภาคตะวันออก  


ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ  ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ตามฤดูกาล ยางพารา ล้วนแล้วแต่มีความต้องการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการจัดการแหล่งน้ำของกรมชลประทาน จำเป็นต้องสร้างความรู้เข้าใจร่วมกันในการพัฒนาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยผ่านการนำเสนอควาบคืบหน้าของแผนการพัฒนาโครงการฯ ในวงกว้างเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน ภาคีเครือข่าย และผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อนำมาสู่ความเชื่อมั่นในแนวทางการพัฒนาโครงการที่ต้องมีการวางแผนร่วมกัน นำไปสู่ความร่วมมือต่อไปในปัจจุบัน และอนาคต เพื่อร่วมยกระดับคุณภาพชีวิต การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมถึงการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมของจังหวัดให้เกิดความยั่งยืนการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมจากพื้นที่ อ.หางแมว, อ.นายายอาม, อ.ท่าใหม่ และ อ.เขาคิชฌกูฎ  ซึ่งประกอบด้วย 7 กลุ่มคือ 1. กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน, กลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์ และกลุ่มผู้อ่อนไหว, 2. กลุ่มหน่วยงานราชการในพื้นที่, 3. องค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม องค์การพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษาและนักวิชาการอิสระ, 4. ผู้จัดทำรายงาน, 5. ผู้พิจารณารายงาน, 6. รวมถึงสื่อมวลชน และ 7. ประชาชนทั่วไป     

อย่างไรก็ตาม นอกจากการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆในการพัฒนาโครงการ ยังเป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการฯ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและ ภาคประชาชน และยังสามารถสะท้อนถึงบริบทของชุมชน ความเป็นอยู่ การดำรงชีพ การประกอบอาชีพที่สำคัญในพื้นที่ นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น  ที่ยังคงรักษาต่อไปได้โดยอาศัยทรัพยากรน้ำที่มีคุณค่าที่จะร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตและสามารถนำไปพัฒนาและต่อยอดในการส่งเสริมอาชีพ และสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top