GC  เปิดแผนธุรกิจปี 64  เดินหน้าพัฒนาธุรกิจยั่งยืน ยึดกลยุทธ์ 3 สเต็ป  โมเดลการเติบโตบนสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจากการแพร่ระบาด 19  รุกขยายธุรกิจต่อเนื่อง พัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่ม   ลุยโรงงานรีไซเคิล สตาร์ทปลายปีนี้ เล็งศึกษา รีไซเคิลพลาสติกชนิดแข็ง ด้วยเคมีมุ่งการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวทาง Circular Economy


นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC เปิดเผยว่า แผนการพัฒนาธุรกิจปี 2564  ได้นำนโยบายมุ่งเน้นกลยุทธ์ 3 Steps   ตอกย้ำการเป็นผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากล ที่ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ  เพิ่มศักยภาพและโอกาสการลงทุนใหม่ๆภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันที่มีความเฉพาะ เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด 19 โดยองค์กร ได้เน้นการสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน สร้างโอกาสใหม่ สู่ยุคชีวิตวิถีใหม่(New Normal) พร้อมเร่งเดินหน้าและยกระดับธุรกิจ  เริ่มตั้งแต่ Step Change คือ กลยุทธ์การยกระดับความสามารถในการแข่งขัน:  สานต่อสร้างเสริม จีซี ให้เข้มแข็ง ทั้งด้านความปลอดภัยและเสถียรภาพการผลิต   Step Out  เพื่อแสวงหาโอกาส การเติบโตในธุรกิจใหม่ทั้งในและต่างประเทศแบบก้าวกระโดด  และ  Step Up คือ กลยุทธ์สร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ ด้วยการเป็นต้นแบบองค์กรเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล


 ทั้งนี้ในปี 2564 ตั้งเป้ายอดขายโต 8-10% จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น ของโรงงานใหม่ ทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ และโพลิเมอร์ เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมต่างๆ ประกอบกับการการปิดซ่อมบำรุงรักษาโรงงานน้อยกว่าปี 2563 ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์พลาสติกในสายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีปัจจัยกดดันในเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้นราคาจึงเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ ในการเพิ่มยอดขายของปีนี้


  อย่างไรก็ตาม บริษัทให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ที่มีความสัมพันธ์กันกับการเติบโตของธุรกิจ สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ(Climate Chang ) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ ซึ่งได้นำเทคโนโลยี และการร่วมมือกับพันธมิตร ในการนำพลาสติก เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และอัพไซคิ่ง เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการพัฒนาไบโอพลาสติก ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษา การจัดตั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด Polylactic Acid (PLA) ในไทย แห่งที่ 2 หลังจากที่ได้มีการร่วมทุนตั้งโรงงานกับบริษัท NatureWorks LLC ในสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้ผลิต PLA รายใหญ่อันดับ 1 ของโลกด้วยกำลังการผลิต 1.4 แสนตันต่อปี


นอกจากนี้บริษัทได้วางแผนการนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่โดยเฉพาะ ขยะพลาสติก ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน( Circular Economy ) โดยเฉพาะการบริหารจัดการครบวงจร Loop Connecting  จนถึงกระบวนการเข้าโรงงานรีไซเคิล ซึ่งปัจจุบันมีความคืบหน้าในตอนการก่อสร้างโรงงานพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (Food grade) ครบวงจร ที่จะเป็นแห่งแรกในประเทศไทย คาดว่าจะเปิดเชิงพาณิชย์ในปลายปี 2564 นี้จะช่วยโครงการก่อสร้างโรงงานรีไซเคิลพลาสติกที่ใหญ่สุดในประเทศไทย รองรับพลาสติกใช้แล้วได้ประมาณ 6 หมื่นตันต่อปี และนำไปผลิตเม็ดพลาสติกเพื่อจำหน่ายอีกครั้งได้ประมาณ 4.5 หมื่นตันต่อปี ใช้เงินลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยมีบริษัท แอลพลา จำกัด (ALPLA) เป็นพันธมิตร ร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท เอ็นวิคโค จำกัด (ENVICCO Limited) เพื่อผลิตเม็ดพลาสติกหมุนเวียนคุณภาพสูง ชนิด rPET และ rHDPE ที่ จ.ระยอง


ทั้งนี้บริษัทยังได้ เตรียมศึกษาความเป็นไปได้โดยร่วมกับพันธมิตร เพื่อพัฒนาการรีไซเคิลชนิดแข็ง และมีหลายเรเยอร์ ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ในกระบวนการปกติ แต่ต้องใช้กระบวนการรีไซเคิลทางเคมี ซึ่งจะทำให้การรีไซเคิลครบวงจร และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุ


ส่วนแผนยกเลิกการผลิตเม็ดพลาสติก ชนิดเกรดที่ใช้สำหรับผลิตถุงพลาสติกหูหิ้ว จำนวน 1.5 แสนตันต่อปี ภายในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2562-2566) จากกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกทั้งหมดทุกชนิด 2 ล้านตันต่อปีนั้น ยืนยันว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าบริษัทจะเลิกผลิตพลาสติกดังกล่าวได้หมดแน่นอน และจะหันไปผลิตพลาสติกที่หนาและทนทานขึ้น รวมถึงไบโอพลาสติกเพื่อช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top