เผยโรงงานน้ำตาลเกาะติดการบริโภคน้ำตาลใกล้ชิดหลังล่าสุด 9เดือนแรกของฤดูการผลิตปี 62/63 (ต.ค.62-มิ.ย.63)ความต้องการบริโภคน้ำตาลในประเทศมีเพียง 1.69 ล้านตันคาดที่เหลืออีก 3 เดือนที่เหลือของการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย จะอยู่ที่ระดับ  2.25 ล้านตันจากที่สอน.ประเมินไว้ปีนี้จะอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน

 นายสิริวุทธิ์  เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยขณะนี้ กำลังเผชิญความท้าทายครั้งสำคัญ จากสถานการณ์ โควิด-19 ที่กระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก เป็นผลให้ความต้องการบริโภคน้ำตาลในตลาดโลกชะลอตัวลง จากเดิมที่มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 2% ต่อปี โดย พบว่าในช่วง 9 เดือนแรก ตั้งแต่เริ่มฤดูการผลิตปี 2562/63 (ต.ค. 2562 – มิ.ย. 2563)ประเทศไทย  มีการบริโภคน้ำตาลรวม 1.69 ล้านตัน หรือเฉลี่ยเดือนละ 187,500 ตัน และหากรวมการบริโภคในช่วง 3 เดือนที่เหลือของฤดูการผลิตปีนี้ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย.นี้  คาดว่า อัตราการบริโภคภายในประเทศโดยรวมจะอยู่ที่  2.25 ล้านตันเท่านั้น จากที่สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ประมาณการไว้ที่ 2.5 ล้านตัน


ทั้งนี้ ประเทศบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลกยังหันมาผลิตน้ำตาลเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น หลังจากราคาน้ำมันตลาดโลกลดลงต่อเนื่อง เพราะ ไม่คุ้มค่ากับการนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลเมื่อเปรียบเทียบรายได้จากน้ำตาล สร้างแรงกดดันต่อราคาตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำตาลทรายดิบอยู่ที่ 11-12 เซนต์ต่อปอนด์ ต่ำกว่าคาดการณ์เดิมในปีนี้ เฉลี่ยอยู่ที่ 15 เซนต์ต่อปอนด์    ขณะที่ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 2 ของโลก ต้องเผชิญภาวะภัยแล้งรุนแรง ส่งผลให้ผลผลิตอ้อยเข้าหีบในฤดูการผลิต ปี2562/63 ลดลงเหลือเพียง  75 ล้านตัน


 “ จากการประมาณการเบื้องต้น ของปริมาณผลผลิตอ้อยประจำฤดูการผลิตปีหน้า หรือปี2563/64คาดว่าประเทศไทย  จะมีปริมาณการผลิตอ้อยใกล้เคียงกับปี2562/63 ทำให้ชาวไร่อ้อยมีความจำเป็นต้องเก็บอ้อยบางส่วนไว้ทำพันธุ์ จึงคาดว่า ผลผลิตอ้อยเข้าหีบในฤดูการปี2563/64 ก็อาจจะลดลงกว่าเดิม เว้นแต่ว่าในช่วงต่อจากนี้ จะมีปริมาณฝนตกกระจายทั่วถึงและต่อเนื่องในพื้นที่เพาะปลูก ก่อนการเก็บเกี่ยวอ้อยส่งเข้าหีบในเดือนธ.ค.นี้


ล่าสุด ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลได้ร่วมมือกันเพื่อผ่านอุปสรรคในครั้งนี้ โดยฝ่ายโรงงานและชาวไร่ร่วมกันดูแลอ้อยเข้าหีบให้มีคุณภาพ ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม และสร้างแรงจูงใจให้ชาวไร่ตัดอ้อยสดส่งเข้าหีบ ลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ รวมถึงการจัดเก็บใบอ้อยนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า โดยโรงงานดูแลประสิทธิภาพการหีบสกัดให้ได้น้ำตาลต่อตันอ้อยสูงที่สุด  เร่งสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อสร้างรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง   โดยนำอ้อย น้ำตาล ของเสีย และผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต มาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มูลค่าเพิ่มสูง เช่น ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มฟาร์มาซูติคัล และผลิตภัณฑ์ไบโอเคมี เป็นต้น

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top