กรอ.เผย6เดือนตั้งโรงงานเพิ่ม10% จ้างงานพุ่ง1.2 แสนคน ยอมรับมูลค่าลดเหตุโรงงานเล็กแห่ลงทุน ชี้ถ้าโควิดไม่ระบาดรอบ2 แนวโน้มทั้งปีโตใกล้เคียงปี62


             นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) เปิดเผยถึงสถิติการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม6เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย. ) ว่า แม้การแพร่ระบาดของโควิด-19จะกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย แต่สถิติการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม พบว่า ยอดขอใบอนุญาตประกอบกิจการ (รง.4) และขยายกิจการใน 21 กลุ่มอุตสาหกรรมมีจำนวน อยู่ที่ 1,702 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีท่ีผ่านมา 10.22 %  มีการจ้างงานใหม่ 123,794 คน เพิ่มขึ้น 79.23 % และเงินลงทุน 174,850ล้านบาท ลดลง 14.09% เมื่อแยกตัวเลขการขอใบอนุญาตประกอบกิจการพบว่าอยู่ที่ 1,267 ราย ลดลง  3.36 % จ้างงาน 52,692 ราย เพิ่มขึ้น 25.58 % และเงินลงทุน 71,121 ล้านบาท ลดลง 30.16 % ขณะที่การขยายกิจการ จำนวน 435 ราย เพิ่มขึ้น 13.58%  จ้างงาน 71,102 ราย เพิ่มขึ้น 53.65% เงินลงทุน 103,728 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.07%


               ท้ังนี้ ตัวเลขดังกล่าวเป็นที่น่าสังเกตว่า ปริมาณการจ้างงานใหม่ ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 3 ปี ที่จะช่วยแก้ปัญหาการว่างงานของแรงงาน จากผลกระทบของโควิด-19 และ สามารถรองรับนักศึกษาที่จบใหม่ได้ในระดับหนึ่ง โดยตัวเลขในส่วนของการขยายกิจการ ที่เพิ่มทั้งจำนวนโรงงาน มูลค่า และการจ้างงาน แสดงให้เห็นว่าในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ได้มีการวางแผนการลงทุนล่วงหน้าอยู่แล้ว และอาจไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากนัก โดยส่วนใหญ่ที่เดินหน้าตามแผนลงทุน เป็นโรงงานขนาดกลางและเล็ก


               ขณะเดียวกัน กรอ. ยังต้องติดตามในไตรมาส 3(ก.ค. -ก.ย.) และไตรมาส 4(ต.ค.-ธ.ค. ) ว่าตัวเลขจะเป็นอย่างไร แต่คาดว่าอาจมีแนวโน้มดีขึ้น ในกรณีที่ไม่มีการแพร่ระบาดรอบที่ 2 ของโควิด-19 โดยตลอดปีนี้ตัวเลขโรงงานทั้งตั้งใหม่และขยายกิจการ อาจจะอยู่ที่ 3,000 รายใกล้เคียงกับปี ท่ีผ่านมา


               สำหรับ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความต้องการแรงงาน สูงสุด 5 อันดับแรกคือ กลุ่มผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์มีความต้องต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น   39,873 คน สาเหตุที่กลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าว มีความต้องการแรงงานสูงเนื่องจากมีการใช้แรงงาน ในการประกอบและตรวจสอบอุปกรณ์จำนวนมาก รองลงมาเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ต้องการแรงงาน 20,112  คน กลุ่มผลิตเครื่องจักรเครื่องกล ต้องการแรงงาน 11,910 คน กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ ต้องการแรงงาน  6,002 และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก ต้องการแรงงาน 5,814 คน


               นอกจากนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ลงทุนมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมอาหาร ท่ีมีการจัดตั้งโรงงานและขยายกิจการสูงสุด 97 ราย เพิ่มขึ้น 44.78 % คาดว่าจะเกิดการจ้างงานใหม่  15,631 คน เพิ่มขึ้น 44.21 % และเงินลงทุน 14,390ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50.19 % อันดับสองเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติก 36 ราย ลดลง 41.94% เกิดการจ้างงาน ใหม่ 2,363 คน ลดลง 36.16% และเงินลงทุน 2,763 ล้านบาท ลดลง 64.93% กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพืช 32 ราย เพิ่มขึ้น 6.67% เกิดการจ้างงาน 1,706 คน เพิ่มขึ้น 79.58 % เงินลงทุน 5,266 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46.71%, ผลิตภัณฑ์อโลหะ 31 ราย เพิ่มขึ้น 82.35% เกิดการจ้างงาน 2,474 คน เพิ่มขึ้น 1,346.78% ลงทุน 2,951 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 645.68% และกลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ 26 ราย ลดลง 15.38% จ้างงาน 3,462 คนเพิ่มขึ้น 69.54 %เงินลงทุน 3,076ล้านบาท เพิ่มขึ้น 45.63%


            “กรอ.ยังจัดทำแผนฟื้นฟู ส่งเสริม หรือสนับสนุนสถานประกอบการอุตสาหกรรม หลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ล่าสุดกรอ.ได้จัดทำข้อเสนอโครงการฯ ตามมาตรการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยและสังคม 400,000 ล้านบาท ตามนโยบายของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเสนอไปจำนวน 5 โครงการ วงเงิน 148  ล้านบาท อาทิ โครงการแปลงเครื่องจักรเป็นทุน โครงการพัฒนายกระดับศักยภาพการผลิตของเอสเอ็มอี โครงการฟื้นฟูโรงงานอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปด้วยเทคนิควิศวกรรมอาหาร”

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top