นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด(มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยหลังร่วมลงนามสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น ในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และ  บี.กริม ฯว่า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เป็นหนึ่งในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลักของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็น สนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ของกรุงเทพ เชื่อมสนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟความเร็วสูง ทำให้ 3 สนามบิน สามารถรองรับผู้โดยสารรวมกันได้ 200 ล้านคนต่อปี เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมทั้งเป็น “มหานครการบินภาคตะวันออก” ที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินและประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย


สำหรับ โครงการผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น เป็นการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นที่โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก พร้อมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถรองรับการขยายตัวของผู้โดยสาร ธุรกิจการขนส่งสินค้า ธุรกิจอุตสาหกรรมการบิน ศูนย์กลางธุรกิจ และศูนย์เทคโนโลยีด้านอากาศยาน


ขณะเดียวกัน กองทัพเรือในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกร่วมกับ สกพอ. ได้คัดเลือก บี.กริม เป็นผู้เช่าที่ราชพัสดุ พื้นที่ 100 ไร่ เพื่อดำเนินการด้านสาธารณูปโภค โครงการงานระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยจะผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid Power Plant) ระหว่างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (Co-Generation Power Plant) โดยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (PV Solar Farm) ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดตามแนวคิดหลักของ อีอีซี มีขนาดกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 95 เมกะวัตต์ พร้อมด้วยระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ (Energy Storage System-ESS) ขนาด 50 เมกะวัตต์ชั่วโมง พร้อมจะจัดหาแหล่งพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมเมื่อสนามบินมีการพัฒนาสูงสุดและมีความต้องการพลังงานไฟฟ้า 95 เมกะวัตต์ และเสริมความมั่นคงด้วยการสำรองไฟฟ้า 100% โดยความร้อนที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าได้นำมาเปลี่ยนเป็นระบบน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศสนามบิน ทำให้มีการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม


นอกจากนี้ ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid Power Plant) สามารถเลือกใช้แหล่งพลังงานที่คุ้มค่าหรือมีราคาประหยัดเหมาะสม เพื่อพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพต่อเนื่อง มีพลังงานสำรอง ลดความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารที่ใช้บริการภายในสนามบินอู่ตะเภาอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย”


” โรงไฟฟ้าดังกล่าว เป็นโรงไฟฟ้าแบบผสมผสาน(Hybrid Power Plant)ระหว่างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม(Co-Generation Power Plant) ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์(PV Solar Farm)เป็นเชื้อเพลิงมีกำลังการผลิต 95 เมกะวัตต์ และใช้ระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ(Energy Storage System-ESS)ขนาด 50 เมกะวัตต์ชั่วโมงด้วย ใช้เงินลงทุน 3,800 ล้านบาท โดยจะป้อนไฟฟ้าให้กับสนามบินอู่ตะเภา 40 เมกะวัตต์ , รถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง,สุวรรณภูมิและอู่ตะเภา) 20 เมกะวัตต์ และรองรับผู้ใช้ไฟฟ้าเดิมของกองทัพเรือที่มีอยู่ 60 เมกะวัตต์ ที่จะย้ายมาใช้ไฟฟ้าของ บี.กริม    คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างโรงไฟฟ้า 2 ปีครึ่ง


นายฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกรรมการ บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า โรงไฟฟ้าแห่งนี้ จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ในต้นปี 2567 และถือเป็นโรงไฟฟ้าไฮบริดแบบผสมผสานเทคโนโลยีทั้ง 3 ระบบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่จะสามารถนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด มีประสิทธิภาพด้านการผลิตไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพมากที่สุด ทั้งยังปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่าง


Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top