ไม่อยากเชื่อก็ต้องเชื่อเมื่อสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์  (Complete Aged Society) ในปี 2564หลังจากที่ไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยนับตั้งแต่ปี 2548 แต่สิ่งที่น่าตกใจมากกว่าคืออีก17 ปีข้างหน้าคนไทย3 คนจะเป็นผู้สูงอายุ 1 คน และอีก4ปีจากนั้นเราจะคว้าตำแหน่งมีคนสูงวัยมากสุดในอาเซียน


      ทั้งนี้ข้อมูลจาก กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ชี้ให้เห็นว่าเมื่อ 14 ปีก่อน  หรือปี  2548 ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศ  อยู่ในระดับต่ำเพียง  10.3 % หรือคิดเป็นสัดส่วนแค่ 1 ใน 10 นั่นคือในเมืองไทย ประชาชน 10 คน จะเป็นผู้สูงอายุแค่ 1 คน  ก่อนจะขยับสัดส่วนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น11.8 %  ในปี 2553  ใช้ระยะเวลาถึง 5 ปี  จึงมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเพียง  1.5 % 


แต่อีก 5 ปีต่อมา สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนไปในปี 2559 เมื่อครบปีที่ 10  จากข้อมูลพบว่า  ทั้งประเทศมีผู้สูงอายุราว 10 ล้านคน (10,783,380    คน) หรือ คิดเป็น 16.5 %  และยังพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า  การเพิ่มจำนวนประชากรผู้สูงอายุไทย   “เพิ่มมากขึ้น ในอัตราเร่งที่สูงขึ้น” โดยสังเกตจากช่วง 5 ปีหลัง  มีอัตราเพิ่มรวมสูงถึง  4.7 หรือเกือบระดับ 5 % เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากช่วง 5 ปีแรก  ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นรวม 5 ปี เพียงระดับ 1 ที่ 1.5 %


      แสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นทุกปี ตลอด 10 ปี ตั้งแต่ 2548-59 และเพิ่มขึ้นถึง  เกือบ 1 %ต่อปี ในช่วง 5 ปีหลัง  แตกต่างอย่างมากกับช่วง 5 ปีแรก ที่เพิ่มขึ้นน้อยมากเพียง 0.3%ต่อปี หรือรวม1.5 % ต่อ 5 ปี จากสถานการณ์ดังกล่าว  คาดว่า  อัตราการเพิ่ม จะเร่งสูงขึ้นจนถึงระดับ  20 %   ในอีก 5 ปีต่อไป  คือในปี  2564  หรืออีก 2 ปีนับจากพ.ศ.    2562  นี้. ที่มีประชากรผู้สูงอายุราว   12 ล้านคนในปัจจุบัน


     และที่น่าสนใจก็คือ  ถัดไปอีก 10 ปี    ในปี  2574   คาดว่า   จะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นถึง27 % และจะเพิ่มเป็น 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศในอีก 5 ปีต่อไป  คือในพ.ศ.  2579    เมื่อถึงเวลานั้น   ในประเทศไทย  จำนวนประชาชน 3 คน  จะเป็นผู้สูงอายุ 1 คน


         "สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุไทย  สูงสุดในอาเซียน ???? "


     ขณะเดียวกัน องค์การสหประชาชาติ หรือ UN  คาดการณ์อย่างสอดรับกันว่า  ประเทศไทยในอนาคต  จะมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ  สูงที่สุดในอาเซียน   โดยในปี 2583  สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก   จนไปอยู่ที่ระดับ   33 %  หรือราว 1 ใน 3 ของสัดส่วนประชากรไทย 

   
      จะเกิดอะไรขึ้น ???  เมื่อไทยกำลังมีคนสูงวัยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


     นายสมคิด สมศรี  อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ ให้ข้อมูลว่า  ได้แบ่งผู้สูงอายุ ออกเป็น 3 กลุ่ม  กลุ่มใหญ่สุด เรียกกลุ่มติดสังคม   เป็นผู้สูงวัยสุขภาพดี มีชีวิตตามลำพังได้  มีราว 8 ล้านคน ( 7,961,690 คน) คิดเป็นร้อยละ 79.5   กลุ่มต่อมาคือ   กลุ่มติดบ้าน  เป็นผู้ต้องการการช่วยเหลือดูแลในชีวิตประจำวัน มีประมาณ 2 ล้านคน ( 1,902,795 คน) คิดเป็นร้อยละ  19และสุดท้ายคือ  กลุ่มติดเตียง ต้องอยู่ในการดูแลทางการแพทย์ระยะยาว เพื่อรักษาพยาบาล  และสวัสดิการมีประมาณ แสนกว่าๆ  (150,220 คน)  หรือคิดเป็นร้อยละ 1.5


     ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่า  ผู้สูงอายุไทย  ต้องได้รับการดูแลหลากหลายรูปแบบ   จึงแบ่งงานเป็นหลายด้าน   คือ  ด้านสังคม  ผู้สูงอายุไทยจะได้รับการคุ้มครองตามสิทธิพึงได้  ที่ระบุไว้ในกฎหมาย   และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุอยู่ย่างมั่นคงในสังคม  ส่งเสริมการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มเพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมสังคม  เลี่ยงการอยู่ลำพัง  ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีร่วมกับผู้อื่น  ด้านสุขภาพ   ส่งเสริมดูแลผู้สูงอายุให้แข็งแรงทั้งกายใจ  เกิดสมดุลในชีวิต

 
   ด้านสิ่งแวดล้อมและบริการสาธารณะ   จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ  อาทิ   การสนับสนุนภาคส่วนต่างๆ  ร่วมมือกันสร้างชุมชนน่าอยู่  ดูแลซ่อมแซมที่พักอาศัยให้ผู้สูงอายุ  การไปเยี่ยมบ้านให้กำลังใจผู้สูงอายุติดเตียง  และงานบริการต่างๆ  อีกด้านที่สำคัญคือ  ด้านเศรษฐกิจ  จัดหางานให้ผู้สูงอายุ  34.6 % ที่กำลังหางานทำ   โดยใช้ความร่วมมือภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ  หรือขยายอายุทำงานต่อในที่เดิม  หลังอายุ 60 ปี   และเรื่องการออม  กับการสร้างหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุ

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top