นายจ้างส่งสัญญาณโควิด-19 ทำให้คนไทยเสี่ยงตกงานพุ่ง ธุรกิจเตรียมลดขนาดองค์กรรับแรงซื้อทั้งในและต่างประเทศถดถอยหนักชี้เป้าแรงงานวัย 40 บวกขึ้นไปเสี่ยงตกงานเพิ่มเหตุเงินเดือนสูงหากก้าวไม่ทันเทคโนโลยี ขณะที่วัยโจ๋เด็กจบใหม่กว่า 5แสนคนส่อเคว้งเหตุส่วนใหญ่จบปริญญาตรีในสาขาที่ล้าสมัย


   นายธนิต  โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยว่า  วิกฤติโควิด-19 คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคแรงงานค่อนข้างสูงและจะรุนแรงกว่าปี 2540  เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั้งไทยและทั่วโลกต่างถดถอยกำลังซื้อหดหายขณะที่ภาคการผลิตของไทยส่วนใหญ่เน้นพึ่งตลาดส่งออกทำให้ขณะนี้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่จำเป็นต้องลดขนาดองค์กรลงให้สอดรับกับแรงซื้อหรือตลาดที่ถดถอยทั้งในและต่างประเทศซึ่งทำให้ส่วนหนึ่งต้องปรับโครงสร้างแรงงานทั้งลดเงินเดือน ลดจำนวนพนักงานลง


  “  คาดว่าจะมีแรงงานนอกภาคเกษตรเสี่ยงตกงานสูงถึง 9.5 ล้านคนจนกว่าจะมีความชัดเจนในการมีวัคซีนป้องกันโควิด-19 ระหว่างนี้เศรษฐกิจโลกน่าจะฟื้นตัวในลัษณะตัว U ซึ่งใช้เวลาอีก 2-3 ปี แต่กระนั้นหลายอย่างก็อาจเปลี่ยนไปเป็นวิถีใหม่หรือ New Normal”นายธนิตกล่าว


  ทั้งนี้ตามวิถีใหม่หรือ New Normal ที่จะเกิดขึ้นคือ Business Downsize การลดขนาดองค์กรให้เล็กลงโดยใช้เทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นและลดจำนวนแรงงานในสถานประกอบการ  กอปรทั้งภัยคุกคามการจ้างงานจากการเร่งตัวของเทคโนโลยีก้าวหน้าในรูปแบบต่างๆ ที่เป็น “Disruptive Technology” จะเข้ามาแทนที่การใช้แรงงานมนุษย์ เช่น AI, Robots, Smartphone, Internet of things, Automation ฯลฯ ดังนั้นแรงงานที่มีความเสี่ยงสูงคือแรงงานที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปเพราะแรงงานกลุ่มนี้อยู่มานานจนมีเงินเดือนสูงแต่ประสิทธิภาพการทำงานให้บริษัทลดลงเนื่องจากก้าวไม่ทันเทคโนโลยีใหม่ดังนั้นแรงงานที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จะต้องเร่งปรับตัว เพิ่มทักษะ ความสามารถเพิ่มขึ้นเพื่อทำงานได้อย่างหลากหลายและก้าวทันเทคโนโลยี รวมทั้งทำงานร่วมกันเทคโนโลยีใหม่ได้ 


  ขณะที่ผู้จบใหม่ใช้เทคโนโลยีต่างๆได้ดีและมีไฟทำงาน แถมยังสามารถจ้างเริ่มต้นด้วยเงินเดือนที่ต่ำกว่าจึงมีโอกาสมาทดแทนแรงงานรุ่นเก่าได้มากขึ้นแต่กระนั้นเด็กจบใหม่ของไทยที่มีอยู่ราวปีละ 5 แสนกว่าคนก็ใช่จะไม่เสี่ยงตกงานเนื่องจากส่วนใหญ่จบปริญญาตรีในสาขาที่ตลาดไม่ต้องการค่อนข้างสูง  ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายจะต้องตระหนักโดยเฉพาะภาครัฐที่จะกำหนดหลักสูตรการศึกษาให้สอดรับกับอาชีพในระยะสั้นและระยะยาว 


  “ การเปลี่ยนแปลงของทักษะใหม่ ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานที่ไม่เหมือนเดิมแม้แต่แรงงานวัยตอนต้นล้วนมีความเสี่ยงสะท้อนจากแรงงานใหม่จบระดับอุดมศึกษามีการว่างงานสูงสัดส่วนถึง29.5% ของผู้ว่างงานทั้งหมด ขณะเดียวกันแรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานส่วนใหญ่ 63.2% จบปริญญาตรีในสาขาที่ล้าสมัยไม่ตรงกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะการด้อยคุณภาพของแรงงานใหม่ทำให้ส่วนนี้ก็เสี่ยงตกงานสูงด้วยเช่นกัน”นายธนิตกล่าว

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top