“ไอ้อ้วน”  ที่มาพร้อมกับเสียงหัวเราะ


 เสียงที่ถูกเรียกไล่หลัง มาทำให้ต้องหยุด แล้วหันไปที่ต้นเสียง


ฟังผ่าน ๆ ไปแล้ว ก็เป็นเหมือนกับการล้อเลียนของเด็กๆ ทั่วไป แต่เด็กที่ถูกล้อเลียนแบบนี้ซ้ำๆๆกับการกลั่นแกล้งกัน หรือ เรียกกันในยุคนี้ “การบูลลี่” แต่การกระทำแบบนี้ มีมาตลอดไม่ว่ายุคสมัยไหน
จะเกิดปมกับเค้าอย่างไร ไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ชีวิตเค้าเหมือนเหรียญสองด้านที่จะออกได้ทั้ง หัวและก้อย


ถ้าออก “หัว” มองบวก เป็นแรงขับเคลื่อน เด็กคนนั้น คงมุ่งหน้ามุ่งตาหาจุดเด่นของตัวเอง แสดงออกหรือกำหนดเป้าหมายของชีวิต และเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตไปสู่จุดหมายให้ประสบความสำเร็จได้  เราก็จะได้คนคุณภาพของประเทศ


แต่ถ้ามันออก “ก้อย” หละมันจะเกิดอะไรขึ้นกับเค้า ผลลัพธ์ออกมาไม่สวยแน่นอน กับชีวิตเค้าในอนาคต ที่อาจจะนำไปสู่การสร้างพฤติกรรมความรุ่นแรงแบบทีไม่คาดฝันของเค้า หรือแม้กระทั้งสร้างการเจ็บปวดให้กับครอบครัว สังคม และอื่นๆตามมาอย่างมากมายเช่นเดียวกัน

สมัยนี้ดูเหมือน แรงกว่าในอดีต เพราะพฤติกรรมเด็กในยุคดิจิตทัล  ที่เสพสื่อผ่าน โซเชียล และมีอิทธิพล ต่อความคิด เกิดการสะสมทางความคิดและแสดงอาการเรียนแบบพฤติกรรมต่างๆ ที่มีทั้งดี และ ไม่ดี แม้บางทีเป็นการล้อเล่นกันแบบขำๆก็ตาม เพราะเกิดจากความไร้เดียงสาของเด็กน้อย เค้าไม่ผิดหรอกน่ะที่จะไปโทษเค้า แต่ระบบกรองทางความคิดยังไม่สมบูรณ์เท่านั้น 
เพียงเค้าคิดว่า “ไม่เป็นไร แค่ขำๆ”


ข่าวร้ายๆที่เกิดขึ้นจากการ บลูลี่กันเกิดการทำร้ายร่างกายในต่างประเทศ


 แต่ตอนนี้เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทยที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีเด็กชายในชุดนักเรียนได้เขียนจดหมายสั่งลาและ จบชีวิตตัวเองลง เพราะถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อนร่วมห้อง แพร่สะพัดในโซเชียลอีกครั้งที่เกิดจากการบูลลี่


ก่อนหน้านี้เมื่อปลายปี 2562 ความรุนแรงของการบูลลี่ก็เกิดขึ้นกับเด็กชายตัวเล็กๆ ที่ถูกกระทำจนเกินรับไหว ขโมยปืนพ่อเพื่อมายิงแก้แค้นเพื่อนคนนั้น และอีกหลายเหตุการณ์น่าสลดที่เด็กไทยต้องเผชิญ กับภาพความเจ็บปวดซ้ำๆ  แต่ความเจ็บปวดเหล่านี้มันย้ำให้เห็นว่า ปัญหาการบูลลี่กันในวัยเด็กไม่ใช่เรื่องเล็กและปกติอีกต่อไป


จากข้อมูลงานวิจัยของกรมสุขภาพจิตที่พบว่า ในปี 2561 มีจำนวนนักเรียนไทยโดน กลั่นแกล้งในโรงเรียนสูงถึง 600,000 คน เป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากญี่ปุ่น โดยที่ระดับความรุนแรงของพฤติกรรมการบูลลี่และปัญหาในสถานศึกษาดูเหมือนมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ


 การกลั่นแกล้งกันของเด็กๆจะเป็นเรื่องที่มีมาตลอดแต่กลับมีผลต่อความรู้สึกส่งต่อถึงพฤติกรรมที่ไม่ใช่เรื่องเล็กอย่างที่หลายคนคิด


 โดยเฉพาะในปัจจุบันเมื่อชีวิตของเด็กผูกติดกับโลกโซเชียลมาก ดังนั้นการแก้ปัญหาการบูลลี่ที่เป็นเชื้อเพลิงชั้นดีสร้างความร้าวฉานระหว่างกัน


 จากคำบอกเล่าของคุณครูประจำชั้น จาก โรงเรียนวัดป่าประดู่ที่ครูดอกโศกที่เป็นผู้ผุดไอเดีย แก้ปัญหาการบูลลี่ ที่มีการตอบแบบสอบถามว่า  “แม้ปัญหาของโรงเรียนแห่งนี้จะเป็นเพียงการทะเลาะกันในกลุ่มไลน์ ด้วยถ้อยคำรุนแรงและหยาบคาย แต่นั่นคือสัญญาณเตือนที่ผู้เป็นครูรับรู้ได้ว่าไม่ควรปล่อยผ่าน และเมื่อบรรยากาศของวัยใสเริ่มขุ่นมัว”


ทางออกที่ดีคือ การมานั่งเปิดใจคุยกันจึงเป็นทางออกขั้นแรกสุดคลาสสิกที่ใช้ได้กับทุกปัญหา 


จากนั้นก็ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้ ทฤษฎีเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นใน 21 วัน ซึ่งเป็นแนวคิดจากหนังสือ PsychoCybernatics ของ Dr.Maxwell Maitz ที่แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาการทะเลาะในกลุ่มไลน์ของห้องหาสาเหตุว่าใครได้รับผลกระทบบ้าง และได้รับผลกระทบอย่างไร


จึงนำไปหาทางแก้ไขด้วยตัวเอง  ดังนั้นวิธีการป้องกันคือการระมัดระวังคำพูดในกลุ่มไลน์ และใช้โซเชียลอย่างมีมารยาท ซึ่งให้เวลาช่วงปิดภาคเรียนไปปรับปรุงตัว


ส่วนทางออกขั้นต่อไปคือจะต้องคุยกับผู้ปกครองให้รับรู้ว่าลูกหลานของคุณกำลังเผชิญกับปัญหาอะไรอยู่ แต่จะไม่คุยต่อหน้าเด็กหรือคุยพร้อมๆ กัน เพราะบางเรื่องเด็กก็ไม่ได้อยากให้ผู้ปกครองรับรู้ พร้อมกับต้องย้ำผู้ปกครองว่าอย่าไปต่อว่าลูก อยากให้เขาค่อยๆ สังเกตลูกตัวเองและดูพฤติกรรมที่บ้าน ส่วนที่โรงเรียนจะเป็นผู้ดูแล


ในความเป็นจริงบ้านกับโรงเรียนจะต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหาในทุกๆ เรื่อง


ในฐานะการเป็นผู้ปกครองหรือคุณครู จะต้องเข้าใจก่อนว่า “เด็กทุกคนมีความเก่งไม่เหมือนกันมีความสวยในแบบฉบับของตัวเองที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร สร้างตัวตนให้เด็กๆ  มีความเชื่อมั่นในตัวเองและสร้างความภูมิในให้ตัวเองในแบบฉบับของเราเองได้”


       ด้านนายประเสริฐ บุญเรือง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อธิบายว่า ส่วนหนึ่งอาจเคยถูกกลั่นแกล้งมาก่อน จึงอยากแก้แค้นโดยกระทำกับคนอื่นหรือคนที่เคยกระทำกับเขาให้ได้รู้สึกถึงความเจ็บปวดบ้าง การกลั่นแกล้งจึงเป็นส่วนหนึ่งเป็นพฤติกรรมสร้างตัวเองให้เหนือคนอื่น เหนือคนที่โดดเด่นกว่า เหนือคนที่อ่อนแอกว่า เพื่อสร้างเกราะป้องกันให้ตัวเอง


          นอกจากเด็กบูลลี่กันเองแล้ว ยังมีครูที่บูลลี่เด็กอีกทอดหนึ่ง ไม่ว่าจะด้วยพูดหรือการเลือกปฏิบัติ แต่ที่ร้ายแรงเกินกว่าจะรับได้คือ การกระทำที่เรียกว่า 'ล่วงละเมิดทางเพศ' ปลัดกระทรวงศึกษาธิการบอกว่า ทางกระทรวงฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจออกมาตรการเข้มงวดขึ้น ในการสืบหาความจริงและบทลงโทษที่ต้องทำให้เร็วขึ้น เพื่อไม่ให้ครูที่กระทำผิดได้ใจ ควบคู่ไปกับการเยียวยาผู้ถูกกระทำ หากเด็กไม่อยากจะเรียนที่เดิมก็พร้อมที่จะหาที่เรียนใหม่ให้ หรือถ้าเด็กไม่อยากเรียนแล้วก็ต้องหาทางออกร่วมกันที่ไม่ทำให้ต้องออกกลางคัน เพราะการศึกษาสร้างคนให้เป็นคนได้ สร้างคนให้มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างเคารพกัน กระทรวงศึกษาเป็นกระทรวงหลักในการพัฒนาคนให้สมบูรณ์แบบ และสามารถพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ดีได้


จะเห็นว่าการกลั่นแกล้งกันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ขำๆ กันต่อไป ดังนั้นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะครอบครัว สถาบันการศึกษา จะต้องหันมาให้ความสำคัญในการสร้างสรรค์เด็กให้ก้าวผ่านท่ามกลางการ “บลูลี่” ระหว่างกัน ให้เกิดขึ้นให้ได้ หรือ ไม่ก็ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยลดน้อยลงไป ซึ่งก็อาจจะเริ่มจากการปลูกฝังจิตสำนึกเด็กให้รู้จักจริยธรรม เปิดใจกว้าง รู้จักการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง และมีความรักให้กับคนอื่นๆด้วยความจริงใจต่อกัน....

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top