โลกแห่งเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้คนเราอายุยืนยาวมากขึ้นโดยผู้ที่มีอายุเกินกว่า 100ปี ขึ้นไปเรียกว่า “ศตวรรษิกชน” คนอายุยืนเหล่านี้อดีตถูกมองว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่มีลมหายใจแต่ต่อไปเรื่องนี้จะกลายเป็นสิ่งธรรมดามากและประเทศไทยเองก็เช่นกัน ดังนั้นคุณได้เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับคำว่าอายุยืนได้มากแค่ไหนเพราะมันจะไม่ธรรมดาอีกต่อไป


    ข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)ตอกย้ำว่า ตลอดเวลา 6 ทศวรรษที่ผ่านมา คนไทยมีอายุขัยคาดการณ์ตามช่วงเวลาเพิ่มขึ้น 4.4 เดือนต่อปี ทำให้คนไทยมีอายุคาดการณ์เมื่อเกิดถึง 75.3 ปี ในปี 2559และเมื่อประมาณการตามอายุคนไทยตามรุ่นอายุ ซึ่งคิดผลของพัฒนาการทางเทคโนโลยีเข้ามาด้วย (Cohort Life Expectancy) พบว่า มีความเป็นไปได้ที่คนไทยที่เกิดในปี 2559 จะมีอายุยืนเฉลี่ยถึง 80 – 89 ปี ไปจนถึงเกือบ 100 ปี


ข้อมูลดังกล่าวส่งสัญญาณให้เห็นว่า  “ต่อไปการที่คนไทยมีอายุเกิน 100 ปี จะเป็นเรื่องปกติ” จากล่าสุดในปี 2560 คนไทยมีอายุยืนกว่า 100 ปี แล้วถึง 9,041 คน ขณะที่อายุเฉลี่ยระหว่าง 90-99 ปีมีประมาณ 170,000 คน และจะเพิ่มมากขึ้นอีกต่อไปในอนาคตเช่นเดียวกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่กำลังเชผิญอยู่


อย่างไรก็ตามการที่คนเราอายุมากขึ้นก็ไม่ได้หมายถึงจะกลายเป็น”คนสูงวัย” เนื่องจากคนอายุ 60 ขึ้นไปปัจจุบันก็ยังมีความสามารถที่จะทำงานได้ ทำให้ทีดีอาร์ไอมองว่าควรจะใช้คำว่า  ‘สังคมอายุยืน’ แทน ‘สังคมสูงอายุ’ เพราะหากไม่เข้าใจเรื่องนี้ จะทำให้นิยามคำว่า ‘ผู้สูงอายุ’ ต่ำเกินไป ลงทุนใน ‘ทุนมนุษย์’ ต่ำเกินไป และคนก็จะเลิกทำงานเร็วเกินไปนั่นเอง


    สอดรับกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าอายุคาดเฉลี่ยของคนไทย เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 75 ปี ในปี 2558 เพิ่มขึ้นเป็น 75.4 ปี ในปี 2560 เมื่อเรามีแนวโน้มจะอายุยืนขึ้น การเตรียมพร้อมชีวิตหลังเกษียณจึงเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะไม่เช่นนั้นชีวิตบั้นปลายของคนอาจนำไปสู่ภาวะเครียดและซึมเศร้างจากเงินที่มีไม่พอใช้นั่นเอง ดังนั้นขอแนะนำเพื่อการเตรียมพร้อมไว้เบื้องต้นที่สำคัญดังนี้


1. อย่าตั้งความหวังให้ใครมาดูแล
     ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจโลกยุคปัจจุบันก่อนว่าความจริงของชีวิตนั้นอย่าไปคาดหวังให้ลูกหลานหรือคนอื่นๆจะมาเลี้ยงดูเราไปตลอดชีวิตเพื่อที่เราจะได้ไม่ประมาทในการดำรงชีวิตและการบริหารจัดการสินทรัพย์อย่างรู้เท่าทัน


2.รู้จักตนเองเพื่อวางแผนการใช้ชีวิต
      เราควรจะต้องสำรวจตนเองว่าหลังเกษียณแล้วอยากทำอะไร เช่น ท่องเที่ยวไปรอบโลก ทำเกษตรพอเพียง ฯลฯ เมื่อได้คำตอบสำหรับตนเองแล้วระหว่างการทำงานจะได้วางแผนในการสะสมเงินสำหรับการใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างเพียงพอ หรือลงทุนเพื่อสำรองไว้ในอนาคต เช่น สะสมเงินไว้ซื้อที่ดินเพื่อรองรับการทำเกษตรพอเพียงตามเป้าหมายที่วางไว้ เป็นต้น


3.สำรวจแหล่งเงินได้ก่อนและหลังเกษียณ
     ยุคดิจิทัล หลายอาชีพที่ว่ามั่นคงอาจล้มหายไปง่ายๆ ได้ทันที ดังนั้นเราจำเป็นต้องสำรวจแหล่งรายได้ในปัจจุบันว่าจะมีความมั่นคงมากน้อยเพียงใดเพื่อที่จะทำได้ต่อไปจนถึงเกษียณหากพบว่าไม่มั่นคงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหาความรู้ต่อยอดเพิ่มเติม จากนั้นก็ต้องสำรวจแหล่งเงินได้หลังเกษียณว่าจะมีเพิ่มเติมได้อย่างไร เช่น มีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รายได้จากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ เงินปันผล ฯลฯ หรือไม่เพื่อวางแผนในระยะยาวอย่างรอบคอบเพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ที่วางแผนไว้ในชีวิตหลังเกษียณ


4. จัดทำแผนปฏิบัติและติดตาม
     เมื่อเรารู้ตัวว่ามีเป้าหมายหลังเกษียณอย่างไรและพิจารณารายได้ทั้งปัจจุบันและอนาคตแล้วสิ่งที่ต้องทำคือการวางแผนในทางปฏิบัตินั่นคือการเก็บหรือออมเงินซึ่งจะต้องค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ถึงเป้าหมายและศึกษาการลงทุนใหม่ๆที่ไม่เสี่ยงจนเกินไปเช่น การลงทุนในกองทุนรวมต่างๆ   จากนั้นค่อยๆติดตามผลและประเมินแนวโน้มเพื่อปรับปรุง ซึ่งการปฏิบัตินี้อยากให้มองเป็นเรื่องสนุกอย่าไปซีเรียสมากนักเพราะการทำงานก็เครียดอยู่แล้วจึงไม่ควรจะหมกมุ่นจนเกินไป


5.เข้าใจสุขภาพ
     เมื่อยามเกษียณแล้วสุขภาพที่ถดถอยตามกาลเวลาเป็นเรื่องปกติของทุกสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ ดังนั้นสุขภาพที่ย่ำแย่ย่อมนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการดูแลร่างกาย การเตรียมพร้อมสำหรับสุขภาพจึงมีความจำเป็นสำหรับทุกเพศ ทุกวัย เพราะนี่ถือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในการวางแผนเกษียณ


      คำแนะนำเหล่านี้เป็นเพียงหลักการเบื้องต้นซึ่งแต่ละคนนั่นย่อมแตกต่างกันไปทั้งหน้าที่การเงิน และสถานะครอบครัวแต่อย่างน้อยก็เพื่อไม่ให้การใช้ชีวิตระหว่างทางนั้นอยู่บนความไม่ประมาทเพราะคนที่เกษียณไปแล้วย่อมรู้ดีว่า ความเศร้าของการวางแผนเกษียณที่ผิดพลาดคือ เมื่อตายแล้วยังใช้เงินไม่หมด แต่พบว่าสิ่งที่เศร้ายิ่งกว่าคือ...เมื่อเงินหมดแล้วยังต้องอยู่ต่อไปนั่นเอง

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top