การบริหารจัดการประเทศของเราใน วันนี้ ต้องไปทางไหนดี!!!!!! 


ต่อความกังวลหลายส่วน ไม่ว่าต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศ เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไปจนถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องใหญ่ๆ ที่ต้องหาทางออกทั้งสิ้น ว่าไปปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมก็มีหลายประเด็น ปัญหาขยะพลาสติกล้นเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อโลก ล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์  ทำให้หลายประเทศต่างพยายามร่วมมือกันหาวิธีแก้ไข ทั้งการกำหนดนโยบายในการจัดการขยะ รวมถึงมาตรการลดเลิกใช้ถุงพลาสติก และการรณรงค์รีไซเคิล เพื่อร่วมมือกันกำจัดหรือลดจำนวนขยะพลาสติกลง และหันมาเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


 ด้วยคุณลักษณะของคุณสมบัติพลาสติกเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย    ทั้งเบา แข็งแรง ทนทาน และราคาถูก สามารถผลิตให้มีรูปแบบต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้าและทันสมัย   เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ในชีวิตประจำวัน  เช่น ถุงพลาสติก ภาชนะบรรจุอาหาร ของเล่นเด็ก เฟอร์นิเจอร์ ส่งผลให้เกิดขยะพลาสติกในปริมาณมากขึ้น   แน่นอนว่า หากมาสู่กระบวนการเป็น “ขยะพลาสติก” แล้ว จะกลายเป็นวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายด้วยตัวเอง และในชนิดของขยะพลาสติก พบว่า  “ถุงพลาสติก”  จะเป็นขยะที่มีปริมาณมากที่สุดและถูกทิ้งมากในทุก ๆ วันทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเมืองและชุมชนขนาดใหญ่ รองลงมาจะเป็น “หลอดเครื่องดื่ม ฝาพลาสติก และภาชนะบรรจุอาหาร”


แม้จะมีการตื่นตัวและรณรงค์ ให้พลาสติกกลับมาใช้ใหม่ พบว่าหากมีการใช้หลายครั้งคุณภาพของพลาสติกด้อยลง   แต่เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการนำเอาขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ กับขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งทั้งหมดในแต่ละวันยังถือว่าเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น   ทำให้บางพื้นที่ขยะพลาสติกมากกว่าครึ่งยังขาดการบริหารจัดการขยะที่ดี ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมตามมา   จากสถานการณดังกล่าวมีข้อมูลทางวิชาการ จาก  องค์การสหประชาชาติ รายงานว่า “ขยะพลาสติก” ถือเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก โดยหลายประเทศ ทั่วโลกมีการออกกฎห้ามใช้หรือเก็บภาษีพลาสติกเพื่อยกเลิกการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
สำหรับ ประเทศไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานข้อมูลใน พ.ศ. 2560 พบว่า เป็นขยะพลาสติกถึง 2 ล้านตัน โดยมีการใช้ถุงพลาสติกประมาณ 4.5 หมื่นล้านใบต่อปี และเมื่อ เทียบกับข้อมูลของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ พบว่า ในแต่ละปีทั่วโลกมีการใช้ถุงพลาสติกมากถึง  5 แสนล้านใบ โดยเฉพาะครึ่งหนึ่งเป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง  จากปัญหาดังกล่าว หลายประเทศ มีมาตรการในการดำเนินการ ดังนี้


สาธารณรัฐไอร์แลนด์  สาธารณรัฐไอร์แลนด์เป็นประเทศที่ลดการใช้ถุงพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการออก มาตรการเก็บภาษีถุงพลาสติกเอง ตั้งแต่ ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) และหากผู้บริโภคจะต้องการใช้ถุงพลาสติก จะต้องเป็นผู้จ่ายเงินซื้อถุงพลาสติก จากนโยบายดังกล่าวสามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้ถึงร้อยละ 90 


ราชอาณาจักรเดนมาร์ก  ราชอาณาจักรเดนมาร์กเป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่ตระหนักถึงความสำคัญของการมีมาตรการ กำกับดูแลการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติก และประสบความสำเร็จในการลดการใช้พลาสติกอย่างเห็นผลชัดเจน เช่น เก็บภาษีถุงพลาสติกจากผู้ค้าปลีก   ตั้งแต่ ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) เพื่อกดดันให้ร้านค้าปลีกต่าง ๆ คิดค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกกับลูกค้า และกระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้ถุงที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ เป็นผลให้สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้ถึงร้อยละ 66


สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี  สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีการเก็บภาษีรีไซเคิลจากร้านค้าทุกร้านที่มีถุงพลาสติกให้แก่ลูกค้า รวมถึงมีระบบมัดจำค่าขวดพลาสติก   เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคส่งคืนขวดเพื่อนำไปรีไซเคิล จากมาตรการดังกล่าว ทำให้บริษัทเครื่องดื่มเลือกผลิตขวดที่สามารถใช้ซ้ำออกสู่ตลาด เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้จำนวนมาก หลังจากการดำเนินนโยบายดังกล่าวมีการผลิตขวดพลาสติกในท้องตลาดเป็นขวดชนิดใช้ซ้ำได้ (multi-use bottles) ร้อยละ 64


 ราชอาณาจักรสวีเดน   ราชอาณาจักรสวีเดนเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการรีไซเคิล โดยสามารถนำขยะมาใช้ใหม่ (reuse) ได้เกือบทั้งหมด มีเพียงร้อยละ 4 ที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีโครงการ แปรรูปขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ภายในประเทศได้ถึง 810,000 ครัวเรือน โครงการ ดังกล่าวทำให้ขาดแคลนขยะในการแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า ราชอาณาจักรสวีเดนจึงต้องรับซื้อขยะ จากประเทศต่าง ๆ รวมถึงประชาชนให้ความร่วมมือและมีวินัยในการจัดเก็บและคัดแยกขยะ พร้อมทั้ง มีระบบมัดจำค่าขวดพลาสติกที่เรียกเก็บจากผู้บริโภค จากมาตรการดังกล่าวทำให้สามารถรีไซเคิล ขวดพลาสติกได้ถึงร้อยละ 90 ของขวดพลาสติกทั้งหมด


 สหรัฐอเมริกา  สหรัฐอเมริกายังไม่มีการห้ามหรือเรียกเก็บภาษีถุงขยะพลาสติกทั่วประเทศ แต่มีมาตรการดังกล่าว เป็นบางรัฐเท่านั้น ได้แก่ ออสตินและบราวน์สวิลล์ รัฐเท็กซัส, บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์, ชิคาโก  รัฐอิลลินอยส์, ลอสแอนเจลิสและซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย, ซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน, โบลเดอร์  รัฐโคโลราโด, มอนต์กอเมอรี รัฐแมริแลนด์, นิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก, พอร์ตแลนด์ รัฐเมน และวอชิงตันดีซี  ใน ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) ซานฟรานซิสโกเป็นเมืองแรกของสหรัฐอเมริกาที่มีการห้ามใช้ถุงพลาสติก เด็ดขาด ซึ่งนโยบายดังกล่าวมีการผลักดันให้ประชาชนใช้ถุงที่สามารถใช้ซ้ำได้ โดยการวางขายถุงกระดาษ ที่สามารถย่อยสลายได้ไว้ที่จุดแคชเชียร์ จากนโยบายดังกล่าวท าให้สามารถลดมลพิษจากถุงพลาสติกได้ถึง ร้อยละ 72 และวอชิงตันดีซีมีการเก็บภาษีถุงพลาสติก โดยภาษีที่เก็บได้ถูกนำเข้ากองทุนเพื่อการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม นโยบายดังกล่าวสามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้ถึงร้อยละ 85


สาธารณรัฐประชาชนจีน   สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีอัตราการใช้ถุงพลาสติกสูงมาก ภายในหนึ่งวันจะมีการใช้ถุงพลาสติกประมาณ 3,000 ล้านใบ ก่อให้เกิดปริมาณขยะสูงถึง 3 ล้านตันต่อปี และต้องสูญเสียน้ำมันดิบเพื่อการผลิตถุงพลาสติกประมาณ 5 ล้านตันต่อปี และเมื่อ ค.ศ. 2008  (พ.ศ. 2551) รัฐบาลมีคำสั่งห้ามร้านค้าและห้างสรรพสินค้าจัดเตรียมถุงพลาสติกที่มีขนาดบางกว่า 0.25 มิลลิเมตร ให้กับลูกค้า จากมาตรการดังกล่าวทำให้สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้ถึง 40,000 ล้านใบ 


ไต้หวัน ประกาศมาตรการห้ามใช้ถุงพลาสติกและแก้วเครื่องดื่มที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เมื่อ ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) และมาตรการดังกล่าวจะครอบคลุมทั้งหมดภายใน ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) นอกจากนี้ ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) ไต้หวันจะงดการใช้หลอดในร้านอาหารและร้านเครื่องดื่ม และ ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593)  หากประชาชนต้องการใช้หลอดพลาสติกจะต้องจ่ายเงินซื้อ นโยบายดังกล่าวจะทำาให้ประชาชนในไต้หวันใช้ พลาสติกลดลง


เครือรัฐออสเตรเลีย  เมื่อ ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) เครือรัฐออสเตรเลียมีการห้ามใช้ถุงพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีน (Polyethylene: PE) ขนาดบางกว่า 35 ไมครอน (แบบใช้ครั้งเดียวทุกชนิด) โดยรัฐบาลรณรงค์ให้ประชาชน ใช้ถุงที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (reusable bags) เพื่อลดผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อม


 สหราชอาณาจักร   เป็นประเทศที่มีความตื่นตัวเกี่ยวกับดูแลการใช้พลาสติกอย่างจริงจัง เมื่อ ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ประเทศอังกฤษมีการเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกจากผู้บริโภคในร้านค้าใหญ่ ๆ  ใบละ 5 เพนซ์ ซึ่งสามารถช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่าร้อยละ 80 และคาดว่าการลดการใช้ ถุงพลาสติกจะมีประโยชน์ต่อด้านเศรษฐกิจอย่างมาก เช่น ลดงบประมาณค่ากำจัดขยะมูลฝอยได้ถึง 60 ล้านปอนด์ และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 13 ล้านปอนด์ และในอนาคตประเทศอังกฤษมีแผนที่จะนำ ระบบมัดจำขวดพลาสติกมาใช้ รวมถึงเสนอให้ห้ามใช้หลอดดูดพลาสติก แท่งพลาสติกสำหรับคนกาแฟ


 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  รัฐบาลใช้งบประมาณถึง 1 พันล้านรูเปียห์ เมื่อ ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก  โดยรัฐบาลได้ทดลองเก็บภาษีถุงพลาสติก ถึงแม้ประชาชนจะไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวแต่เมื่อรัฐบาล ดำเนินการสามารถลดปริมาณถุงพลาสติกในประเทศได้จำนวนมาก


ประเทศญี่ปุ่น  ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตขยะพลาสติกต่อคนจำนวนมากที่สุดรองจากสหรัฐอเมริกา โดยวางแผนที่จะบังคับให้เรียกเก็บเงินจากถุงพลาสติกในร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา และ ห้างสรรพสินค้า เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นต้องการที่จะต่อสู้กับมลพิษทางทะเลจากขยะพลาสติก   โดยให้แต่ละร้านค้า เป็นผู้กำหนด และคาดว่าจะไม่เกิน 10 เยนต่อถุง ทั้งนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมจะขอให้ผู้ค้าปลีกนำรายได้จาก การเรียกเก็บเงินจากถุงพลาสติกมาช่วยมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม


   จากปัญหาดังกล่าว ประเทศไทยจึงให้ความสำคัญและเร่งหาแนวทางเพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ นำเสนอ ร่างแผนการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 เพื่อเป็นกรอบนโยบายการบริหารจัดการขยะพลาสติก ในภาพรวมของประเทศ และเป็นกรอบแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 เพื่อบูรณาการการดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกัน รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการลดการใช้วัสดุที่ผลิตขึ้นจากพลาสติก  พร้อมทั้งมีมาตรการจูงใจบริษัท ห้างร้าน และสถานประกอบการต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณการใช้วัสดุ ที่ผลิตจากพลาสติก และช่วยลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในระยะยาว


 สิ่งสำคัญ ความร่วมมือของทุกภาคส่วนได้นำแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาปรับใช้อย่างจริงจัง รวมถึงต้องปฏิบัติ มีแผนงานอย่างเคร่งครัด เพื่อลดงบประมาณในการกำจัดพลาสติก มีการควบคุมดูแลให้ ความสำคัญของภัยร้ายจากขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสร้างทัศนคติที่ดีและความเข้าใจในเรื่องการจัดการหรือการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top