การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2521  โดยการรวมกิจการพลังงานของรัฐทั้ง 2 องค์กร คือองค์การเชื้อเพลิงและองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย และนำมาสู่การแปรรูปเป็นบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)หรือ PTT  ในปัจจุบัน โดยตลอดการดำเนินงานเพื่อการก้าวสู่ทศวรรษที่ 50 ในอีก 8 ปีข้างหน้านั้นได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพการเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่มีส่วนต่อการดูแลระบบเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของไทยมาอย่างต่อเนื่อง


    ปี 2563 ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโลก โดยเฉพาะเมื่อโลกของเรากำลังเข้าสู่ยุคดิจิทัล 4.0 ซึ่งหมายถึงยุคที่เทคโนโลยีชาญฉลาดทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สื่อสารและทำงานกันเองได้อย่างอัตโนมัติเพื่อลดบทบาทของมนุษย์ และเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ในการใช้ความคิดเพื่อข้ามขีดจำกัด สร้างสรรค์พัฒนาสิ่งใหม่ๆ หรือที่เรียกว่ายุค   Machine-to-Machine เช่น เราสามารถเปิด-ปิด หรือสั่งงานอื่น  ๆ กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านตัวเองผ่านแอพลิเคชั่นโดยไม่ต้องเดินไปกดสวิตช์   เป็นต้น เหล่านี้ล้วนทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันรับมือกับโลกแห่งเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดเพื่อที่จะต่อยอดธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้

 ”ปตท.”ถือเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่หนีไม่พ้นในการปรับตัวรองรับกับสภาวะการณ์ต่างๆ เหล่านี้เช่นกันซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาผู้บริหารระดับสูงต่างต้องวางยุทธศาสตร์และกลยุทธ์อย่างหนัก


     ”ปตท.”ถือเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่หนีไม่พ้นในการปรับตัวรองรับกับสภาวะการณ์ต่างๆ เหล่านี้เช่นกันซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาผู้บริหารระดับสูงต่างต้องวางยุทธศาสตร์และกลยุทธ์อย่างหนักเพื่อให้ปตท.นั้นยังคงก้าวไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง และในปี 2563 นี้ผู้ที่จะมารับไม้ต่อคือ “นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์”  ซึ่งถูกแต่งตั้งจากประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย ปตท. เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. (CEO)  คนที่ 10 แทนนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ที่จะครบวาระเกษียณอายุครบ 60 ปี ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2563


     เส้นทางการทำงานของCEO ปตท.คนที่ 10 นับว่าไม่ธรรมดาเพราะเป็นลูกหม้อปตท.ที่ทำงานมานานนับ 30 ปี ผ่านงานมาสารพัดตำแหน่งโดยเฉพาะความเชี่ยวชาญในด้านน้ำมันถือว่าชั่วโมงบินค่อนข้างสูง ครอบคลุมค้าปลีก ปิโตรเคมี การบริหารการตลาดทั้งในและต่างประเทศ  ฯลฯ และที่สำคัญอายุ 55 ปี(เกิดวันที่ 19 ก.ค.2508)ถือว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่เหมาะสมในการที่จะมาขับเคลื่อนองค์กรให้ทันสมัยท่ามกลางยุคดิจิทัล 4.0


     สำหรับสิ่งที่ CEO ปตท.คนใหม่จะต้องมาขับเคลื่อนองค์กรที่สำคัญคือการลงทุนซึ่งแผนงานเดิมกำหนดแผนลงทุนระยะเวลา 5 ปี (2562-2566) วงเงิน 167,114 ล้านบาท อาทิ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ 10,908 ล้านบาท, ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ 27,527 ล้านบาท, ปิโตรเลียมขั้นปลาย 11,779 ล้านบาท, การร่วมทุนและลงทุนในบริษัทที่ ปตท.ถือหุ้น 100% ในโครงการขนาดใหญ่ อาทิ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EECi,   สถานีรับจ่ายก๊าซและคลังก๊าซLNG, ท่าเรือ-คลังก๊าซ LNG 101,205 ล้านบาท โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 เป็นต้น


นอกจากนี้ยังมีงบลงทุนในอนาคตสำรองไว้อีก 245,202 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่จะเป็น New S-curve ของ ปตท.ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า โดยธุรกิจเหล่านี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาและพร้อมที่จะขับเคลื่อนในปี 2563 ดังนั้นคงต้องจับตาวิสัยทัศน์ “อรรถพล” ว่าจะปรับบทบาทของ “ปตท.”ในระยะต่อไปอย่างไร ท่ามกลางเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าไปไกล และเศรษฐกิจโลกที่ยังเผชิญหลายปัจจัยเสี่ยง


 แต่ที่แน่ๆ ปตท.คงต้องปรับแผนครั้งสำคัญในการนำธุรกิจเชื่อมโยงกับสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจไทยแบบสมดุลเพื่อให้องค์กร “ปตท.”เติบโตและนำพาสังคมไทยผ่านยุคดิจิทัล 4.0 ไปได้แบบยั่งยืน



 

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top