การจัดการขยะมูลฝอย ถือได้ว่าเป็นปัญหาระดับชาติ ซึ่งไม่เพียงต้องทำการบริหารจัดการแบบบูรณาการจากทั้งภาครัฐและเอกชนแต่ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนและทุกคนก็ว่าได้ ตั้งแต่ครัวเรือนไปจนถึงสถานประกอบการ องค์กรภาคเอกชนและหน่วยงานรัฐ   สาเหตุ หลักๆ มาจาก ที่ทุกวันนี้ปัจจุบันได้เกิดการพัฒนาและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านประชากร ที่อยู่อาศัย การคมนาคม การติดต่อสื่อสาร ความต้องการด้านพลังงาน


ไม่ว่าโลกเราจะพัฒนาไปในทิศทางไหน  มนุษย์ทุกคนก็ล้วนต้องแสวงหา ปัจจัย  4 เข้ามาเพื่อดำรงชีวิตและภายใต้วงจรชีวิต ตลอดจนถึงกระบวนการผลิต การใช้งาน ต่างๆ ต้องนำไปสู่การอุปโภคและบริโภค ก่อให้เกิดของเสียจากกิจกรรมต่างๆ  หรือ เรียกว่า ปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก  หากทำลายได้หมดหรือไม่สามารถทำลายได้ในช่วงเวลาสั้นๆ

สิ่งที่เรียกว่า “ของเสีย ขยะมูลฝอย หรือขยะชุมชน” ขึ้นภายในชุมชนเพิ่มขึ้นทุกวัน ดังนั้นแนวทางการนำของเสียต่างๆ ไปผลิตพลังงานทดแทนจึงเป็นทางออกอีกทางหนึ่งที่สามารถนำของเสียไปใช้ให้เกิดประโยชน์ภายในชุมชนต่อไป

 


ในที่นี้ หากมองให้ละเอียด หมายความถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร มูลสัตว์ ซากสัตว์ ซากพืช หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน หรือครัวเรือน ยกเว้นวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของโรงงานซึ่งมีลักษณะคุณสมบัติที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน


ระดับความเจริญในแต่ละพื้นที ส่งผลทำให้ส่วนประกอบของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันทั้งในด้านปริมาณ สัดส่วน และประเภทของขยะ (ข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวลล้อม ปี 2548 พบว่าปริมาณขยะในเทศบาล มีสัดส่วนของเศษอาหารและขยะที่เป็นสารอินทรีย์มากที่สุด คือร้อยละ 63.57 รองลงมาได้แก่ พลาสติก กระดาษ แก้ว โลหะ ผ้าไม้ ยางหรือหนัง ตามลำดับ ส่วนที่เหลือเป็นขยะอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ขยะจำพวก พลาสติก กระดาษ แก้ว โลหะ จะสามารถนำไปใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำไปแปรรูปใช้ใหม่ (Recycle) ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยและช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยอีกทางหนึ่งด้วย ส่วนขยะอินทรีย์จะถูกนำไปจัดการด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การฝังกลบ หมักทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ผลิตก๊าซชีวภาพ ฯลฯ)


สำหรับแนวทางการกำจัดขยะมูลฝอยด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ภายในประเทศ และต่างประเทศนั้นจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในด้านต่างๆ  ทั้งด้านเทคนิค การเก็บปริมาณขยะในแต่ละวัน การรวบรวมขยะ  ด้านสังคม  พฤติกรรมการอุปโภคและบริโภค  ด้านสิ่งแวดล้อม  พื้นที่ติดตั้ง สภาพภูมิประเทศ แหล่งน้ำ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ  และด้านเศรษฐศาสตร์  การลงทุน, ค่าบำรุงรักษาระบบ 
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันได้มีการใช้เทคโนโลยีจัดการขยะมูลฝอยหลากหลายวิธีประเภทแรก เพื่อการย่อยสลายขยะ เช่น เทคโนโลยีฝังกลบขยะมูลฝอยแบบถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) เทคโนโลยีการคัดแยก (Front-End-Treatment) การหมักทำปุ๋ย (Composting) วิธีการบำบัดเชิงกล-ชีวภาพ (Mechanical Biological Waste Treatment: MBT) เป็นต้น


ประเภทที่สอง  การจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงาน (Waste to Energy) เช่น การแปรรูปขยะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง (Pyrolysis) เทคโนโลยีการเผาไหม้แบบแก๊สซิฟิเคชั่น (Gasification) เทคโนโลยีเตาเผาแบบตะกรับ (Stoker-type Incineration) เทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไร้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) การผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF) เป็นต้น

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top