โจทย์การใช้พลังงานของประเทศ ยังคงเป็นความท้าท้ายของหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะพลังงานสะอาดที่กำลังเป็นจุดเปลี่ยนที่นำคัญของประเทศเนื่องจากต้องคำนึงความต้องการของทุกภาคส่วน ไปพร้อมๆกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ในขณะที่เทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดโดยเฉพาะพลังงานสะอาดมีราคาที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเข้าถึงการใช้งาน เป็นไปได้ง่ายขึ้น ประกอบกับภาครัฐ โดยกระทรวงพลังงาน ได้เปิดกว้างให้พลังงานเป็นเรื่องของทุกคนหรือ  Energy for All โดยเฉพาะพลังงานจะต้องเข้าถึงชุมชนให้สามารถนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายและสร้างรายได้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเป็นที่มาในการเตรียมปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2561-2580 หรือ PDP-2018 ในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนให้ประชาชนเข้าถึงมากขึ้น


         อย่างไรก็ตามหนึ่งในนโยบายสำคัญภายใต้แผน PDP -2018 ที่เรียกกระแสฮือฮาไม่น้อยในช่วงรัฐบาลชุดที่ผ่านมาคือการกำหนดแผนรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 10,000   เมกะวัตต์ โดยนำร่องผ่านโครงการรับซื้อพลังงานจากโซลาร์บนหลังคาภาคประชาชนหรือ โซลาร์ภาคประชาชน 1,000 เมกะวัตต์ ด้วยการทยอยรับซื้อปีละ 100 เมกะวัตต์   เริ่มปี 2562 เป็นปีแรก  แบ่งพื้นที่การรับซื้อผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 70 เมกะวัตต์ และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)  30  เมกะวัตต์ และผู้มีสิทธิ์ยื่นคือต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านที่อยู่อาศัยเท่านั้น


ความน่าสนใจของโครงการนี้  คือการกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินที่เหลือใช้ในราคา 1.68 บาทต่อหน่วย  กำหนดเวลารับซื้อ10ปี  ทำให้การติดตั้ง โซลาร์รูฟท็อป ในบ้านที่อยู่อาศัยมีความคุ้มทุนมากขึ้น แต่จากการเปิดให้มีการยื่นเข้าร่วมโครงการนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แบบใครยื่นก่อนได้ก่อน ดูเหมือนว่า   ความสนใจจากประชาชนยังมีค่อนข้างต่ำ หลายฝ่ายมองว่าราคารับซื้ออาจยังไม่จูงใจพอ และอีกส่วนมองว่าชาวบ้านเองอาจยังไม่ได้รับรู้มากนัก และบางส่วนก็ยังไม่กล้าที่จะลงทุนขอรอดูคนอื่นก่อน จะด้วยเหตุผลใดประเด็นเหล่านี้ทำให้กระทรวงพลังงานกำลังพิจารณาอย่างละเอียดเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการส่งเสริมในระยะต่อไปซึ่งคงจะต้องติดตามใกล้ชิด


อย่างไรก็ตามโครงการโซลาร์ภาคประชาชนมีผู้เล่นที่น่าจับจ้องอยู่ไม่น้อยนั่นคือ  บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA   ที่ “ดร. เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้  ได้วางถึงแผนการนำบ้านภายในโครงการเสนาฯเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน   ว่าจะนำ ลูกบ้านที่อยู่ใน  6 โครงการ  ซึ่งถือเป็นจำนวนผู้ยื่นสูงสุดของ โครงการโซลาร์ภาคประชาชนในปีนี้ถึง 164 ราย  คิดเป็นจำนวนขายไฟฟ้าเข้าระบบ   394.40 กิโลวัตต์  ซึ่งประกอบด้วย โครงการเสนาพาร์ค แกรนด์ รามอินทรา, โครงการเสนาพาร์ควิลล์ รามอินทรา-วงแหวน, โครงการเสนาวิลล์ บรมราชชนนี สาย 5, โครงการเสนาแกรนด์ โฮม รังสิต-ติวานนท์, โครงการเสนาช็อปเฮ้าส์ พหลโยธิน-คูคต และโครงการเสนาช็อปเฮ้าส์ บางแค เฟส 1 และเฟส 2 ด้วย จำนวนรายสูงสุดของโซลาร์ภาคประชาชนในปีนี้ 164 รายคิดเป็น  394.40 กิโลวัตต์


ทั้งนี้“เสนา”(SENA)ได้ก้าวเข้าสู่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เจ้าแรกที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย  (โซลาร์รูฟท็อป) ทุกหลังทุกโครงการ   ยกเว้นบ้านที่มีราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2559  ทำให้ถูกกล่าวขานว่าเป็น   บ้านเสนาโซลาร์ แถมยังพ่วงด้วยบริการแบบครบวงจร   ผ่านการดำเนินงานติดตั้งโดยบริษัท เสนา โซลาร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ที่เสนาถือหุ้น 100% เรียกว่าตั้งแต่ติดตั้งจนกระทั่ง การซ่อมบำรุงดูแลก็หมดห่วง


แต่จุดที่เป็นเครื่องการันตีของคุณภาพการผลิตไฟฟ้า คือส่วนของ แผงโซลาร์ (Solar Cell) เพราะต้องยอมรับว่ามีแผงโซลาร์ที่ราคาต่ำมาก  แต่พอติดตั้งแล้วใช้งานได้ไม่นานกลายเป็นปัญหามากขึ้น ในขณะนี้ ซึ่งคงไม่ต้องเอ่ยว่านำเข้ามาจากประเทศใด แต่เสนาได้เลือกใช้แผงโซลาร์จากประเทศญี่ปุ่น ที่จะการันตีถึงคุณภาพ  และมาตรฐานการใช้งานได้เป็นอย่างดี  อย่างไรก็ตามการติดตั้งแผงโซลาร์เพื่อผลิตไฟใช้นั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เราจะได้รับ   ซึ่งทางเสนาชี้ให้เห็นว่าความคุ้มค่าที่ลูกบ้านเสนาจะได้รับจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้


กลุ่มที่1   ครอบครัวใหญ่ที่มีทั้งคนทำงานนอกบ้านอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุ   เด็กที่อยู่บ้านทั้งวัน ซึ่งกลุ่มนี้จะมีผู้ที่อาศัยอยู่บ้านในช่วงกลางวัน ซึ่งโซลาร์ฯจะผลิตไฟได้เฉพาะกลางวัน  แล้วที่เหลือก็สามารถขายเข้ารัฐได้


กลุ่มที่ 2 กลุ่มคนทำงานนอกบ้าน หรือกลุ่มที่อยู่เฉพาะเสาร์-อาทิตย์  ซึ่งจะทำให้มีไฟเหลือมากสุดที่จะขายคืนให้รัฐ และกลุ่มที่ 3 กลุ่มคนทำงานที่บ้านหรือฟรีแลนซ์ หรือกลุ่มคนที่มีกิจการร้านค้าซึ่งจะมีความคุ้มค่าในการใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์ฯมากสุด


       จากข้อมูลก็ชี้ให้เห็นว่าผู้ที่จะคุ้มทุนคือ ผู้ที่อยู่บ้านเพื่อใช้ไฟช่วงกลางวันในการประหยัดค่าไฟเพราะแสงอาทิตย์ผลิตได้ช่วงกลางวัน แต่เมื่อรัฐเองมีนโยบายมาส่งเสริมในระยะแรกของการรับซื้อไฟส่วนเกินเข้าระบบอัตรา 1.68 บาทต่อหน่วยระยะ 10 ปีก็จะเป็นกลุ่มที่ใช้ไฟกลางวันส่วนหนึ่งและ ผู้ที่ไม่ได้อยู่บ้านเวลากลางวัน   จะคุ้มค่าในการลงทุน เพราะส่วนมีส่วนที่เหลือขายเข้าระบบนั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากประชาชนคิดว่าจะติดตั้งเพื่อขายไฟเข้าระบบทั้งหมด  คงไม่ใช่เป็นปัจจัยหลักที่สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำแน่นอน  แต่โดยหลักการแล้ว เป็นการนำไฟฟ้าที่ผลิตได้มาใช้เพื่อลดการซื้อไฟฟ้าจากระบบของการไฟฟ้า   และยังมีส่วนเหลือใช้ที่นำขายเข้าระบบ ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายพลังงาน แถมยังเป็นพลังงานสีเขียวรักษ์โลกอีกด้วย

โซลาร์รูฟท็อปอาจจะยังดูใหม่สำหรับเมืองไทยแต่ต่างประเทศขอบอกว่า เขาไปไกลมากแล้ว


     โซลาร์รูฟท็อปอาจจะยังดูใหม่สำหรับเมืองไทยแต่ต่างประเทศขอบอกว่า เขาไปไกลมากแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกามีการรับซื้อไฟฟ้าในอัตราที่สูงกว่าที่ขายให้กับผู้บริโภคเสียด้วยซ้ำด้วยเหตุผลว่าไฟฟ้าจากโซลาร์ฯนั้น ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมไฟฟ้าไม่สูญเสียในสายส่ง และลดความจำเป็นการต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่  หรือเรียกว่าการให้คุณค่ากับพลังงานแสงอาทิตย์ (Value of Solar) มากกว่าพลังงานชนิดอื่นๆ  ขณะที่ไทยนั้นไฟฟ้ากว่า 60% มาจากก๊าซธรรมชาติที่กำลังจะหมดลงต้องกลายเป็นการนำเข้า แต่การใช้ไฟยังคงเติบโตต่อเนื่อง ประกอบกับประเทศทั่วโลกต่างก็ตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เหล่านี้ล้วนกดดันให้ไทยไม่อาจมองข้ามได้


        หมู่บ้านเสนาโซลาร์นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของการตอบโจทย์ Energy for All ที่จะช่วยทำให้ประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือการช่วยยกระดับสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประเทศไทยเพราะพลังงานแสงอาทิตย์ นับเป็นพลังงานสะอาด และด้วยเทคโนโลยีต่างๆทั้งแบตเตอรี่กักเก็บ (ESS) การเชื่อมโยงอุปกรณ์ไฟฟ้ากับ Internet of Things (IoT) ฯลฯเหล่านี้กำลังทำให้รูปแบบของการผลิตไฟฟ้าเปลี่ยนไปพลังงานจากแสงอาทิตย์จึงเป็นอนาคตที่ไม่ควรมองข้าม

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top