“สุริยะ” ชูอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย เนื่องจากมีศักยภาพและขยายตัวตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐานราก


          นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (ปี 2562-2570) เพื่อตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคตของอาเซียน อาทิ อาหารแปรรูปทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค หรือ อาหารที่ใช้นวัตกรรมแปรรูปไม่ให้รสชาติสูญหายไประหว่างการรอจำหน่าย  เพื่อให้มีอายุเก็บรักษาที่ยาวนานมากขึ้น และเป็น 1 ใน 10 ของประเทศผู้ส่งออกอาหารของโลก และในปีนี้ กระทรวงฯได้จัดสรร งบประมาณขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปรวม  1,000 ล้านบาท เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐานราก (Local Economy)


            นอกจากนี้ โครงการดังกล่าว ยังเป็นการช่วยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารสู่อาหารอนาคต รวมถึงเพิ่มมูลค่าการส่งออกอาหาร ก่อเกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารที่ประเทศไทยมีศักยภาพ เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้กระจายสู่ท้องถิ่น นำไปสู่ฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจของไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน


                   ผมคาดว่าภายใน 1 ปี นับจากนี้ไป รายได้ของเกษตรกรที่เข้าร่วมกับโครงการดังกล่าว จะเพิ่มเป็น 53,000 บาท ต่อคนต่อปีและ ในระหว่างการดำเนินโครงการตามแผนดังกล่าว  รายได้เกษตรกรจะเพิ่มเป็น 66,000 บาท ต่อคนต่อปี และในปี 2570ที่เป็นปีสุดท้ายของโครงการ จะทำให้ รายได้เกษตรกรจะเพิ่มเป็น 91,000 บาท ต่อคนต่อปี และสามารถต่อยอดช่วยเพิ่มรายได้จากการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทุกประเภทของประเทศไทยให้เพิ่มเป็น 1.4 ล้านล้านบาทภายในปี2570 รวมทั้งช่วยสร้างรายได้ให้ธุรกิจอาหารที่เกี่ยวเนื่องให้เพิ่มขึ้นอีก 4.5 ล้านล้านบาท ครอบคลุมผู้ประกอบการในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง 7.6 ล้านราย ก่อให้เกิดการลงทุนใหม่ๆในอุตสาหกรรมอาหารภายในประเทศ ไทยรวม480,000ล้านบาท”


ทั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงฯ ได้ตั้งเป้าผลักดันอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย เนื่องจากมีศักยภาพในการขยายตัวท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และตอบสนองความต้องการทั่วโลกภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (นิว นอร์มอล)


 นายสุริยะ กล่าวว่ากระทรวงฯจึงจะต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจระดับฐานราก ซึ่งภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทยในช่วงโควิด-19 ยังคงเติบโต เห็นได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร 6 เดือนแรกของปี นี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.5% โดยผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารบางชนิดมีแนวโน้มดีขึ้น เช่น สินค้าอาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง เนื่องจากเก็บรักษาไว้ได้นาน เนื่องจากมีความกังวลว่าจะเกิดการขาดแคลนอาหาร จึงมีการสำรองอาหารอย่างต่อเนื่อง


ล่าสุด สศอ.ได้ร่วมกับสถาบันอาหาร จัดทำแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เนื่องจากได้เห็นถึงศักยภาพและโอกาสของธุรกิจอาหารฮาลาล โดยอาหารฮาลาลเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เป้าหมายตามการแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 ปี (ปี 2562-2570)


 “ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารฮาลาล ลำดับที่ 10 ของโลก โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าฮาลาลที่ผลิตจากธรรมชาติ 80% เช่น ข้าว  น้ำตาลทราย แป้งมันสำปะหลัง ผักผลไม้ ส่วนที่เหลือเป็นสินค้าฮาลาลที่ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานเครื่องหมายฮาลาล โดยเฉพาะกลุ่มเนื้อสัตว์และอาหารพร้อมรับประทาน ซึ่งตลาดหลักในการส่งออก ได้แก่ อาเซียน ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้”

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top