จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ของไทยที่ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและจังหวัดระยองถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในอัตราที่สูงแต่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทยด้วยเพราะเป็นจังหวัดที่มีภาคอุตสาหกรรมตั้งอยู่จำนวนมาก ทำให้ทุกภาคส่วนต่างร่วมมือกันที่จะร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และการดูแลชุมชนรอบข้างอย่างเข้มแข็ง

ต้นแบบภาคีเครือข่ายที่สำคัญในการขับเคลื่อนจังหวัดระยองไปสู่เมืองน่าอยู่และวางเป้าหมายการพัฒนาแบบยั่งยืนนั่นคือ‘สมาคมเพื่อนชุมชน หรือ CPA” ซึ่งเป็นต้นแบบของการผนึกกำลังเครือข่าย ซึ่งเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ (MTP) ในรูปแบบของ Collaborative Model ที่ร่วมกันระหว่างภาครัฐ และชุมชน ร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม เพิ่มคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจชุมชน ตั้งเป้าขึ้นชั้นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ 5 ต้นแบบของไทย พร้อมแบ่งปันองค์ความรู้ในมิติต่างๆ  โดยเป็นการริเริ่มของ 5 บริษัท( กลุ่ม ปตท. เอสซีจี บีแอลซีพี ดาวประเทศไทย และโกลว์ /GPSC) จนในปัจจุบันมีสมาชิกรวมแล้วถึง 17 กลุ่มบริษัท

วันนี้บทบาทของสมาคมเพื่อนชุมชน ยังคงสานต่อการยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตชุมชนให้อยู่ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างมีความสุข ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในจังหวัดระยอง ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ที่ชุมชนและโรงงานต่างก็ได้รับผลกระทบจึงทำให้เครือข่ายสมาชิกเพื่อนชุมชนได้กระจายความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ทั้งการมอบสิ่งของ อุปกรณ์ดูแลป้องกันตนเองสู่หน่วยงานและชุมชน รวมไปถึงการจัดซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดการกระจายเม็ดเงินไปสู่เศรษฐกิจฐานราก ควบคู่ไปกับความร่วมมือในการช่วยกันป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสในโรงงานเพื่อไม่ให้กระทบกับภาคการผลิต ฯลฯ

นับเป็นภารกิจที่เข้ามาเติมเต็มการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนระยองท่ามกลางวิกฤติที่ยังคงเป้าหมายเดิมในการสร้างบ้านน่าอยู่สังคมยั่งยืน  โดยเน้นดูแลสิ่งแวดล้อม เพิ่มคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจชุมชน ผลักดันให้เกิดโรงงานและชุมชนเชิงนิเวศโดยทุกเป้าหมายที่ตั้งขึ้นนี้ มีหลักชัยอยู่ที่การนำ จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นหนึ่งใน3 ของจังหวัดที่อยู่ใน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ได้ยกระดับสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ 5 ก้าวสู่การเป็นเมืองต้นแบบของไทย พร้อมแบ่งปันองค์ความรู้ขยายผลสู่การพัฒนาจังหวัดอื่น ทั้งในพื้นที่ EEC และโดยรอบต่อไป

เพื่อให้เห็นภาพแผนการพัฒนา จังหวัดระยอง ให้เป็น เมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรม มากขึ้น วันนี้เราขอเจาะลึกไปยังแผนการดำเนินตลอด 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมาของสมาคม รวมถึงแผนการขับเคลื่อนในอนาคตที่ต้องการต่อยอดให้การพัฒนานี้มีความยั่งยืนต่อไปด้วย

รีวิว 10 โครงการผ่านเครือข่ายสมาคมเพื่อนชุมชนเพื่อ”ระยอง”เมื่อน่าอยู่

นายวริทธิ์ นามวงษ์ นายกสมาคมเพื่อนชุมชน ได้เล่าถึงบทบาทของสมาคมเพื่อนชุมชนตลอด 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกด้านที่กล่าวมาร่วมกับทุกฝ่ายและ ยังมีโครงการพัฒนาต่างๆที่สมาคมฯและภาคีเครือข่ายได้เดินหน้าทำ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ และตอบโจทย์ 3 ด้านหลัก คือ การยกระดับคุณภาพชีวิต (ด้านการศึกษาและสุขภาพ) การดูแลสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ดังนี้

1. โครงการเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพื่อนช่วยเพื่อนสู่ Eco Factory 76 โรงงาน ครบ 100%

ส่วนชุมชนได้ยกระดับพื้นที่ในชุมชนเกาะกกให้เป็นชุมชนเชิงนิเวศต้นแบบ(Eco Community) ตั้งอยู่ในเทศบาลเมืองมาบตาพุด โรงเรียนวัดกรอกยายชาเป็นโรงเรียนเชิงนิเวศต้นแบบ (Eco School) และยังมีวัดเชิงนิเวศ (Eco Temple) อีก 21 วัดในปัจจุบัน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี  2561 ที่ผ่านมา

2. โครงการแผนฉุกเฉินชุมชนและเครือข่ายเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมเชิงรุก

3. โครงการทุนพยาบาลเพื่อนชุมชน ได้สนับสนุนทุนพยาบาลตั้งแต่ปี 2554 รวมทั้งสิ้น 440 ทุน

จะจบการศึกษารุ่นสุดท้ายในปี 2564 ซึ่งได้มีการไปปฎิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลต่างๆในพื้นที่จังหวัดระยอง สามารถดูแลคนไข้ประมาณ 344,000 คน   ซึ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา บุคลากรเป็นกำลังสำคัญ และพร้อมให้บริการและลดการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. โครงการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ จัดจ้างบุคลากรทางสาธารณสุขจำนวน 33 คน ตั้งแต่ ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน

5. โครงการสนับสนุนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ชุมชน ได้เข้าไปดำเนินการจัดหน่วยให้บริการตรวจสุขภาพและรักษาเบื้องต้น ที่ครอบคลุม 119 ชุมชน ออกหน่วยปีละ 20 ครั้ง

6. โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน) ซึ่งปัจจุบันถือเป็นกำลังสำคัญในการดูแลด้านสุขภาพเชิงรุกให้กับชุมชนและหน่วยงานสาธารณสุข โดยการจัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการให้กับ อสม. ในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ ใน 6 ตำบล ตั้งแต่ปี 2555-2563 จำนวนทั้งสิ้น 2,200 คน

7. โครงการเพื่อนชุมชนติวเตอร์ มีนักเรียนชั้น ม.6 เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่ปี 2554-2563 จำนวน 22,000 คน ช่วยให้ผลคะแนน O-NET ในจังหวัดระยองมีลำดับที่ดีขึ้นอยู่ ในระดับ 3 ของประเทศในปี 2562

8. โครงการทุนปริญญาตรีมอบทุนต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554-2563 ทั้งสิ้น 10 รุ่น จำนวน 290 ทุน จบการศึกษาแล้ว 89 คน และได้ประกอบอาชีพแล้วกว่า 50 % และทุนอาชีวศึกษาเพื่อนชุมชน ตั้งแต่ปี 2562-2563 กว่า 90 ทุน ซึ่งทั้งหมดยังอยู่ระหว่างการศึกษา เยาวชนเหล่านี้เป็นแรงงานคุณภาพที่สำคัญในการเข้าสู่ระบบงานในพื้นที่

9. โครงการพัฒนาศักยภาพครูแนะแนวของ รร. ใน จ.ระยอง โดยการเข้าไปส่งเสริมองค์ความรู้และความเข้าใจให้กับครูแนะแนวเพื่อเข้าใจถึงแนวโน้มและทิศทางของความต้องการบุคลากรในพื้นที่อีอีซี

10. โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน “เพื่อนชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเดล” ดำเนินการตั้งแต่ปี 2559-2563 ทั้งสิ้น 38 กลุ่ม ร่วมกับคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน และภาคเครือข่าย ในการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าให้กับวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ ซึ่งสามารถสร้างรายได้รวม 50.4 ล้านบาท ส่งผลให้ชุมชนในพื้นที่สามารถพึ่งพาตนเองได้

ก้าวต่อไปสู่ทศวรรษใหม่ กับการสานต่อ 3 โครงการ เพื่อระยอง

สำหรับการดำเนินงานสมาคมเพื่อชุมชนนับตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป นายกสมาคมเพื่อนชุมชน เน้นย้ำว่าจะยังคงมุ่งเน้นสานต่อโครงการต่างๆที่เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ใน 3 โครงการนำร่อง ต่อไปนี้

1. โครงการมอบทุนบุคลากรด้านสาธารณสุข ในหลายสาขา ทั้งด้านทุนพยาบาล นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย จิตวิทยา จำนวน 21 ทุน ระหว่างปีการศึกษา 2564-2567 เนื่องจากจำนวนพยาบาลในพื้นที่ยังไม่เพียงพอสำหรับรองรับกับจำนวนประชากร โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มีมากขึ้น

2. โครงการเพื่อนชุมชนติวเตอร์ (CPA Tutor) และโครงการมอบทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี และอาชีวศึกษาให้กับเยาวชนในจังหวัดระยอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดหาแรงงานเข้าสู่ระบบในอีอีซี

3. โครงการความร่วมมือระหว่างสมาคมฯและวิทยาลัยมาบตาพุด และหน่วยงานที่อื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านการลดต้นทุนการผลิตให้กับวิสาหกิจชุมชนในการพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องจักรที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด โดยการต่อยอดจากโครงการ“เพื่อนชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเดลจนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ และสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วย

สมาคมเพื่อนชุมชนนับเป็นโมเดลต้นแบบของการพัฒนาประเทศไทยในทุกมิติเพื่อความยั่งยืนโดยแท้จริงที่จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมและชุมชน สิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกัน และเมื่อวันนี้”ระยอง”ที่เปรียบเหมือนบ้านกำลังถูกโควิด-19คุกคามบทบาทของความร่วมมือจึงเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ในการฝ่าฟันให้พ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้…

Tips & Healthy

...

เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ ...

สายกรีนอย่าพลาด!! ...

ปลายเดือนที่ผ่านมา ...

กลุ่ม KTIS ...

กลุ่ม KTIS ร่วมกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ...

10 ...

วิธีดูแลผู้สูงอายุ ...

Banner_ad2
BannerR1
Banner_ad2
Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top